ทฤษฎีโครงสร้างเงินทุนของ M&M
M&M ได้เสนอทฤษฎีที่ตั้งอยู่บนข้อสมมติ 6 ประการ เพื่ออธิบายว่าโครงสร้างเงินทุนไม่มีผลกระทบต่อกิจการจึงใช้เงินทุนจากแหล่งใดก็ได้ แม้ว่าข้อสมมติบางอย่างจะไม่มีทางเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติได้ แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการศึกษาทฤษฎีที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติขึ้นข้อสมมติ 6 ประการของ M&M
- ไม่มีค่านายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์
- ไม่มีค่าภาษี
- ไม่มีค้นทุนล้มละลาย
- ผู้ลงทุนสามารถกู้เงินได้ในอัตราดอกเบี้ยเท่ากับกิจการ
- ผู้ลงทุนมีข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในอนาคต
- การใช้หนี้สินไม่มีผลกระทบต่อ EBIT
ผลของภาษี
เมื่อเราพิจารณาโดยยกเว้นข้อสมมติที่ 2 ไม่มีภาษีเมื่อกิจการมีภาษี กิจการก็ควรจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน 100% เพื่อเอาดอกเบี้ยมาประหยัดภาษี
ผลของตุ้นทุนล้มละลาย
เป็นการยกเว้นข้อสมมติข้อ 3 เพราะในทางปฏิบัติ ถ้ากิจการมีหนี้สินสูง ต้นทุนล้มละลายจะสูงขึ้นด้วยทฤษฎีแลกเปลี่ยนชดเชย
จากข้อยกเว้นทั้ง 2 ข้อในทฤษฎี M&M ทำให้เกิด ทฤษฎีแลกเปลี่ยนชดเชย(Trade-Off Theory) ซึ่งกล่าวว่าโครงสร้างของเงินทุน ควรมีทั้งหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม จึงจะทำให้ราคาหุ้นสูงสุด ทฤษฎีนี้ยังมีปัญหาสำคัญ คือ สมมติว่าผู้ลงทุนมีข้อมูลข่าวสารเช่นเดียวกับผู้บริหารทฤษฎีสัญญาณ (Signaling Theory)
เป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า ผู้บริหารย่อมมีข้อมูลข่าวสารมากกว่าผู้ลงทุน การตัดสินใจเรื่องโครงสร้างเงินทุนจึงเป็นสัญญาณ(Signals) ให้ผู้ลงทุนรู้ว่าผู้บริหารมีความเห็นอย่างไรกรณีที่ผู้บริหารคาดว่ากิจการจะดี จะเลือกใช้โครงสร้างที่มีอัตราหนี้สินสูง เพื่อไม่ต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่
กรณีที่ผู้บริหารคาดว่ากิจการจะขาดทุน จะเลือกใช้วิธีการเพิ่มหุ้นสามัญเพื่อดึงผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาร่วมรับผลขาดทุน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น