กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational
Strategy)
เป็นการกำหนดกลยุทธ์ที่ครอบคลุมวิธีการในการแข่งขัน แก่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงาน (Function)
ต่าง ๆ มุ่งเน้นให้แผนกงานตามหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ขึ้นมา
โดยอยู่ภายใต้กรอบของกลยุทธ์ระดับองค์การและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
เช่น แผนการผลิต แผนการตลาด แผนการดำเนินงานทั่วไป แผนการด้านทรัพยากรบุคคล แผนการเงิน เป็นต้น
Michel
Robert ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ไว้ในหนังสือ
e-Strategy ที่อาจแตกต่างไปจากทั่ว ๆ ไปว่า ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์จะอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด
What you do best แต่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่คู่แข่งขันของเราทำอยู่
(Not what the others do) ซึ่งแนวคิดนี้ใช้ได้ดีทั้งธุรกิจการผลิตและธุรกิจการบริการ โดยมีขั้นตอน
4 ขั้นตอน คือ
1. ระบุแรงขับดัน
(Driving Force) ขององค์การ
ที่สามารถช่วยให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดแข็งที่องค์การมีอยู่ เช่น
การที่องค์การมีเทคโนโลยีที่แตกต่าง องค์การสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำสำคัญในการดำเนินงานได้
เป็นต้น
2. สร้างกรอบแนวคิดทางธุรกิจ (Business
Concept) อย่างสั้น ๆ เพื่อแสดงว่าจะใช้แรงขับดันนั้นอย่างไร เช่น
จะใช้เทคโนโลยีนั้นผลิตสินค้าอะไร จะเจาะจงขายยังภูมิภาคใด
3.
ระบุความเชี่ยวชาญขององค์การ (Area of Excellence) ที่เราต้องการ
เพื่อนำมาใช้สนับสนุนกลยุทธ์ เช่น อาจจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น
หรือการสร้างความชำนาญในการขายและบริการแก่พนักงานขาย
เป็นต้น
4. ระบุประเด็นสำคัญ (Critical Issues)
หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญ ที่อาจจะต้องถูกปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เอื้อต่อการนำกลยุทธ์ไปดำเนินการ เช่น
โครงสร้าง (Structure) กระบวนการหรือระบบ
(Process/System) ทักษะและความสามารถ
(Skills/Competencies) ระบบการให้ผลตอบแทน (Compensation)
เป็นต้น
หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( HRM)
-
1. กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( HRM Strategy)
2. วางแผนเกี่ยวกับกำลังคน หรือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (
HR Plainning)
...
6 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น