การพิจารณาถึงปริมาณของสินค้าคงคลังในระดับที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องค่อน
ข้างยาก
จึงจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องทราบถึงสิ่งที่สามารถนำมาช่วยในการกำหนด
ปริมาณของสินค้าคงคลังในระดับที่เหมาะสม อันได้แก่
1. จุดมุ่งหมายหลักในการมีสินค้าคงคลัง
โดยปกติแล้วสินค้าคงคลังมีไว้เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
ไม่สะดุดหรือหยุดชะงัก แต่บางครั้งธุรกิจอาจมีจุดมุ่งหมายอื่น
เช่นถ้าคาดการณ์ว่าราคาสินค้ามีแนวโน้มจะสูงขึ้นในอนาคต
ก็อาจเก็งกำไรโดยเลือกเก็บสินค้าคงคลังในปัจจุบัน
เพื่อขายในราคาที่สูงขึ้นในอนาคต ปริมาณของสินค้าคงคลังจึงมีจำนวนมาก
หรือบางครั้งได้รับข้อเสนอส่วนลดเงินสดจาก Supplier
โดยต้องสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากๆ ในกรณีนี้ต้องเปรียบเทียบถึง
ผลดีจากส่วนลดเงินสดที่ได้รับ และผลเสียจากค่าใช้จ่ายการบริหารสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น
2. ยอดขายในอดีตของธุรกิจ
โดยผู้ประกอบการสามารถนำยอดขายที่เกิดขึ้นในอดีตของตนมาพยากรณ์ยอดขายที่อาจ
เกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังของธุรกิจจะแปรผันโดยตรงกับยอดขายที่
พยากรณ์ได้นั่นเอง ถ้าขายมาก
ก็อาจต้องมีปริมาณสินค้าคงคลังในระดับค่อนข้างมาก
เพื่อรองรับการขายที่พยากรณ์ไว้นั้น
แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่ยังไม่มียอดขายในอดีต
ก็สามารถกำหนดระดับของสินค้าคงคลัง ได้จากการประมาณการยอดขายของตน
3. การซื้อขายตามฤดูกาล (Seasonal Selling)
ถ้าเป็นธุรกิจที่มีการซื้อขายตามฤดูกาล เช่นธุรกิจขายร่ม
ซึ่งถ้าเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ยอดขายก็อาจมากกว่าปกติ
ดังนั้นระดับของปริมาณสินค้าคงคลังในในช่วงฤดูฝนก็จะมากขึ้นตามปริมาณของยอด
ขายที่เพิ่มขึ้น หลังจากนั้นยอดขายก็จะลดลงมาสู่ระดับปกติ
ซึ่งระดับของปริมาณสินค้าคงคลังก็จะลดลงตาม
4. คุณสมบัติของสินค้า
อันได้แก่ วงจรชีวิต ความคงทน ขนาด รูปลักษณ์ เป็นต้น
ถ้าเป็นธุรกิจที่ขายผักหรือผลไม้ ซึ่งมีวงจรชีวิตน้อย
การที่ธุรกิจจะมีปริมาณสินค้าคงคลังมากก็คงไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่นอน
เนื่องจากถ้าขายไม่หมด
ผักหรือผลไม้นั้นก็อาจจะเน่าเสียหายได้ในเวลาค่อนข้างเร็ว
นอกจากนี้สินค้าบางชนิดแม้ว่าจะเก็บได้นาน อาจเสื่อมสภาพ หมดอายุ
หรือเสียหายได้ ธุรกิจก็อาจต้องมีสินค้าเผื่อปลอดภัย (Safety Stock)
เพื่อรองรับไม่ให้การขายสะดุดลงได้
5. การแบ่งประเภทของสินค้า
ในบางครั้งธุรกิจอาจมีการผลิตสินค้าหลายชนิดสำหรับขาย
บางอย่างอาจขายได้มาก บางอย่างอาจขายได้ค่อนข้างน้อย
ก็อาจแบ่งประเภทตามปริมาณการขายออกเป็น สินค้าประเภทที่มีความสำคัญมาก
ซึ่งสามารถขายได้เป็นจำนวนมาก และสินค้าที่มีความสำคัญน้อย
เพราะขายได้น้อย
ซึ่งกำหนดปริมาณของสินค้าคงคลังตามความสำคัญของสินค้าแต่ละประเภท เช่น
สินค้าที่มีความสำคัญมาก ขายได้มาก ก็ควรมีปริมาณของสินค้าคงคลังมาก
สินค้าที่มีความสำคัญน้อย ขายได้น้อย ก็ควรมีปริมาณของสินค้าคงคลังน้อย
เป็นต้น
6. ความนิยมในตัวสินค้า
ถ้าธุรกิจมีสินค้าประเภทล้าสมัยไม่เป็นที่นิยม
ปริมาณสินค้าคงเหลือของสินค้าชนิดนี้ก็ควรจะมีปริมาณน้อยกว่าสินค้าประเภท
อื่นในสายการผลิตของธุรกิจนั้น
นอกจากนี้ความนิยมของลูกค้ายังเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
โดยที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้
ดังนั้นสำหรับกรณีที่ธุรกิจมีสินค้าที่เป็นที่นิยม ติดตลาด
และมีแนวโน้มว่าจะขายได้เพิ่มขึ้น
ธุรกิจจึงควรต้องพิจารณาถึงการมีสินค้าเผื่อปลอดภัยในการกำหนดปริมาณของ
สินค้าคงคลังของตนด้วย
เพื่อป้องกันการขาดแคลนสินค้าซึ่งจะนำมาซึ่งการสูญเสียลูกค้าในที่สุดนั่น
เอง
7. ความไม่แน่นอนในการจัดส่งสินค้าของ Suppliers
ในบางครั้งธุรกิจอาจต้องสั่งซื้อวัตถุดิบจาก Suppliers
ซึ่งโดยปกติจะมีระยะเวลาการสั่งซื้อสินค้า (Lead Time) ที่ค่อนข้างแน่นอน
แต่เมื่อถึงเวลาการจัดส่งวัตถุดิบจริงอาจมีความล่าช้าเกิดขึ้น
ทั้งนี้อาจเกิดจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น
เกิดอุบัติเหตุรถขนส่งชนกันขึ้น ดังนั้นในการกำหนดปริมาณของสินค้าคงคลัง
ผู้ประกอบการก็ควรจะต้องมีสินค้าเผื่อปลอดภัยเก็บไว้ด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจหยุดชะงัก และสูญเสียโอกาสในการขาย
อันอาจเกิดจากความไม่แน่นอนของการจัดส่งสินค้านี้
8. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง
โดยเฉพาะในด้านการสื่อสาร และการดำเนินรายการทางการค้ากับลูกค้า
ทั้งนี้เพราะหากการสื่อสารผิดพลาด
ธุรกิจก็จะเสียโอกาสในการขายสินค้าให้แก่ลูกค้า
อันเนื่องมาจากขายสินค้าผิดประเภท
ขายสินค้าไม่ตรงตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ หรืออาจไม่มีสินค้าสำหรับขาย
นอกจากนี้หากการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อจากลูกค้าล่าช้า
ก็จะทำให้คาดการณ์ปริมาณสินค้าคงคลังเพื่อรองรับการขายได้ยากขึ้น
ดังนั้นยิ่งธุรกิจสามารถพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านการ
สื่อสาร และการดำเนินรายการทางการค้ากับลูกค้าได้ดีเท่าไร
การคาดการณ์ปริมาณสินค้าคงคลังก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น
9. การเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐอัน
ได้แก่ กฎหมาย ข้อกำหนด และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดทั้งโอกาส
หรืออุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และส่งผลโดยตรงต่อปริมาณสินค้าคงคลังของ
ธุรกิจแต่ละประเภท
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจที่ขึ้นกับนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
10. ต้นทุนของสินค้าคงคลัง (Inventory Cost)
ทั้งนี้ในการกำหนดปริมาณของสินค้าคงคลังของธุรกิจนั้นต้องคำนึงถึงต้นทุน
ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย โดยจุดมุ่งหมายหลักก็คือ
ต้องมีปริมาณของสินค้าคงคลังที่เหมาะสมและมีต้นทุนในการบริหารต่ำที่สุด
หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( HRM)
-
1. กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( HRM Strategy)
2. วางแผนเกี่ยวกับกำลังคน หรือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (
HR Plainning)
...
6 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น