แนวข้อสอบกฎหมาย แนวข้อสอบตั๋วทนายความ สรุปย่อกฎหมาย

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อุปสงค์ (demand)

อุปสงค์ (demand) หมายถึงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะซื้อ และสามารถซื้อหามาได้ในขณะใดขณะหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดมาให้
             จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าอุปสงค์ที่มีประสิทธิผล (effective demand) ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ  
          1. ความต้องการซื้อ (wants) ลำดับแรกผู้บริโภคจะต้องมีความอยากได้ในสินค้าหรือบริการเหล่านั้นก่อน อย่างไรก็ตาม การมีแต่ความต้องการไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ เพราะอุปสงค์จะต้องเป็นความต้องการที่สามารถซื้อได้และเกิดการซื้อขายขึ้นจริงๆ
          2. ความเต็มใจที่จะจ่าย (willingness to pay) คือการที่ผู้บริโภคมีความยินดีที่จะยอมเสียสละเงินหรือทรัพย์สินที่ตนมีอยู่เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการต่างๆเหล่านั้นมาเพื่อใช้ในการบำบัดความต้องการของตน
           3. ความสามารถที่จะซื้อ (purchasing power or ability to pay) ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ คือไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีความอยากได้หรือความต้องการในสินค้าหรือบริการมากน้อยเพียงใดก็ตาม ถ้าปราศจากความสามารถที่จะซื้อหรือจัดหามาแล้วการซื้อขายจริงๆจะไม่เกิดขึ้น นั่นคือ จะเป็นแต่เพียงความต้องการที่มีแนวโน้มจะซื้อ (potential demand) เท่านั้น
            ซึ่งความสามารถที่จะซื้อโดยปกติจะถูกกำหนดจากขนาดของทรัพย์สินหรือรายได้ที่บุคคลนั้นมีหรือหามาได้ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้ามีรายได้หรือทรัพย์สินมากความสามารถ ที่จะซื้อจะมีสูง ถ้ามีน้อยก็จะมีความสามารถซื้อต่ำ ประเภทของอุปสงค์
           1. อุปสงค์ต่อราคา (price demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถซื้อได้ ณ ระดับราคาต่างๆของตลาด ตามความหมายที่กล่าวไว้แล้ว
           2. อุปสงค์ต่อรายได้ (income demand) เป็นความต้องการซื้อที่สามารถซื้อได้ ณ ระดับรายได้ต่างๆของผู้บริโภคนั้นๆ
            3. อุปสงค์ไขว้ (cross demand) หรืออุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น เป็นความต้องการซื้อที่สามารถซื้อได้ของสินค้าชนิดหนึ่งต่อราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ตัวอย่างเช่น อุปสงค์ของปากกาต่อราคาของยางลบ หรืออุปสงค์ของกาแฟต่อราคาของน้ำตาล ฯลฯ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Holiday