แนวข้อสอบกฎหมาย แนวข้อสอบตั๋วทนายความ สรุปย่อกฎหมาย

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อุปทาน (Supply)

   อุปทาน (Supply) หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตเต็มใจนำออกเสนอขาย ในตลาดภายในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กันของสินค้าและบริการนั้น โดยสมมติให้ปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดอุปทานคงที่ 
จากความหมายของอุปทาน จะเห็นได้ว่าอุปทานประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ

          1. ความเต็มใจที่จะเสนอขายหรือให้บริการ (willingness) กล่าวคือ ณ ระดับราคาต่างๆ ที่ตลาดกำหนดมาให้ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการมีความยินดีหรือเต็มใจที่จะเสนอขายสินค้าหรือให้บริการตามความต้องการซื้อของผู้บริโภค 
          2. ความสามารถในการจัดหามาเสนอขายหรือให้บริการ (ability to sell) กล่าวคือ ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการ จะต้องจัดหาให้มีสินค้า หรือบริการ อย่างเพียงพอที่จะ ตอบสนองความต้องการซื้อของผู้บริโภค ณ ระดับราคาของตลาดในขณะนั้นๆ (สามารถเสนอขาย หรือให้บริการได้) เมื่อกล่าวถึงคำว่า ”อุปทาน “ จะเป็นการมองทางด้านของผู้ผลิต ซึ่งตรงข้ามกับอุปสงค์ที่เป็นการมองทางด้านของผู้บริโภค ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ความสัมพันธ์ของราคาสินค้าที่มีต่ออุปทานของสินค้านั้นจะเป็นไปตามกฎของอุปทาน (Law of Supply) 


กฎของอุปทาน (Law of Supply) จะอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้ผลิตในการแสวงหากำไรสูงสุด กฎของอุปทานกล่าวว่า “ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเต็มใจจะนำออกขายในระยะเวลาหนึ่งขึ้นอยู่กับราคาสินค้านั้นๆ ในทิศทางเดียวกัน” กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ปริมาณอุปทานจะเพิ่มขึ้น  เนื่องจากผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายมากขึ้น เพราะคาดการณ์ว่าจะได้กำไรสูงขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อราคาสินค้าลดลงปริมาณอุปทานจะน้อยลง เนื่องจากคาดการณ์ว่ากำไรที่ได้จะลดลง          ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปทานจึงเป็นเส้นที่มีลักษณะที่ลากเฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวา ภายใต้ข้อสมมติว่าปัจจัยตัวอื่นๆ ที่มีผลต่ออุปทานมีค่าคงที่

ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน
การที่ผู้ผลิตจะนำสินค้าออกมาเสนอขายมากน้อยเพียงใดนั้น นอกจากราคาของสินค้าชนิดจะเป็นปัจจัย ที่กำหนดแล้วยังมีอีกหลายปัจจัย ดังนี้
  • ต้นทุนการผลิต การตัดสินใจในปริมาณการผลิตผู้ผลิตจะเปรียบเทียบระหว่างรายได้จากการขายสินค้ากับต้นทุน ในการผลิต ต้นทุนการผลิตมีผลต่อปริมาณการผลิตสินค้าโดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
  • ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งใดอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อ ปริมาณเสนอขายสินค้าอีกชนิดหนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของสินค้า เช่น สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อการผลิตสินค้าเปลี่ยนแปลงไปด้วย
  • สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพดินฟ้าอากาศมีผลกระทบต่อปริมาณการเสนอขายสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตร สภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยจะส่งผลให้อุปทานสินค้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น
  • เทคโนโลยี ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการผลิตมาก การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการผลิตจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปริมาณผลผลิตด้วย
  • นโยบายรัฐบาล ปริมาณเสนอขายสินค้าอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ เช่น ถ้าจัดเก็บภาษีการค้าเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตอาจลดการผลิตลงเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น เป็นต้น

กฎของอุปสงค์

 กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) กล่าวว่า ภายใต้ข้อสมมติว่า       ปัจจัยตัวอื่นๆที่มีผลต่ออุปสงค์มีค่าคงที่ (other-things being equal) ปริมาณอุปสงค์ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจะมี ความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม (ผกผัน) กับระดับราคาของสินค้าชนิดนั้น (inverse relation) กล่าวคือ เมื่อราคาลดลงปริมาณอุปสงค์จะเพิ่มขึ้น และเมื่อราคาสูงขึ้นปริมาณอุปสงค์จะลดลง ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปสงค์จึงเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา (สินค้าปกติ) ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากผลรวมของ

           1. ผลทางด้านรายได้ (income effect) การที่ระดับราคาของสินค้าหรือบริการมีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อระดับรายได้ที่แท้จริง (real income) ของแต่ละบุคคล กล่าวคือ เมื่อราคาสูงขึ้นคนเราจะรู้สึกว่าตนเองมีรายได้แท้จริงลดลง ทั้งๆที่รายได้ที่เป็นตัวเงิน (money income) มิได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด เนื่องจากรายได้ที่เป็นตัวเงินจำนวนเท่าเดิมซื้อหาสินค้าหรือบริการได้ในจำนวนที่น้อยลง และในทางกลับกัน ถ้าราคาสินค้าลดลง รายได้ที่เป็นตัวเงินจำนวนเท่าเดิมก็ซื้อหาสินค้าหรือบริการได้ในจำนวนมากขึ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 
           2. ผลทางด้านการทดแทน (substitution effect) โดยทั่วไปคนเรามีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าหรือบริการที่มีราคาลดลง ทดแทนสินค้าหรือบริการที่ราคาสูงขึ้นหรือไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ เมื่อราคาของสินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่งลดลง ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในสินค้าหรือบริการนั้นจะเพิ่มขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าราคาสูงขึ้นอุปสงค์จะลดลง

อุปสงค์ (demand)

อุปสงค์ (demand) หมายถึงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะซื้อ และสามารถซื้อหามาได้ในขณะใดขณะหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดมาให้
             จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าอุปสงค์ที่มีประสิทธิผล (effective demand) ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ  
          1. ความต้องการซื้อ (wants) ลำดับแรกผู้บริโภคจะต้องมีความอยากได้ในสินค้าหรือบริการเหล่านั้นก่อน อย่างไรก็ตาม การมีแต่ความต้องการไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ เพราะอุปสงค์จะต้องเป็นความต้องการที่สามารถซื้อได้และเกิดการซื้อขายขึ้นจริงๆ
          2. ความเต็มใจที่จะจ่าย (willingness to pay) คือการที่ผู้บริโภคมีความยินดีที่จะยอมเสียสละเงินหรือทรัพย์สินที่ตนมีอยู่เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการต่างๆเหล่านั้นมาเพื่อใช้ในการบำบัดความต้องการของตน
           3. ความสามารถที่จะซื้อ (purchasing power or ability to pay) ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ คือไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีความอยากได้หรือความต้องการในสินค้าหรือบริการมากน้อยเพียงใดก็ตาม ถ้าปราศจากความสามารถที่จะซื้อหรือจัดหามาแล้วการซื้อขายจริงๆจะไม่เกิดขึ้น นั่นคือ จะเป็นแต่เพียงความต้องการที่มีแนวโน้มจะซื้อ (potential demand) เท่านั้น
            ซึ่งความสามารถที่จะซื้อโดยปกติจะถูกกำหนดจากขนาดของทรัพย์สินหรือรายได้ที่บุคคลนั้นมีหรือหามาได้ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้ามีรายได้หรือทรัพย์สินมากความสามารถ ที่จะซื้อจะมีสูง ถ้ามีน้อยก็จะมีความสามารถซื้อต่ำ ประเภทของอุปสงค์
           1. อุปสงค์ต่อราคา (price demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถซื้อได้ ณ ระดับราคาต่างๆของตลาด ตามความหมายที่กล่าวไว้แล้ว
           2. อุปสงค์ต่อรายได้ (income demand) เป็นความต้องการซื้อที่สามารถซื้อได้ ณ ระดับรายได้ต่างๆของผู้บริโภคนั้นๆ
            3. อุปสงค์ไขว้ (cross demand) หรืออุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น เป็นความต้องการซื้อที่สามารถซื้อได้ของสินค้าชนิดหนึ่งต่อราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ตัวอย่างเช่น อุปสงค์ของปากกาต่อราคาของยางลบ หรืออุปสงค์ของกาแฟต่อราคาของน้ำตาล ฯลฯ
เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการในการลดและควบคุมต้นทุนการผลิตเทคนิควิศวกรรมอุตสาหการในการลดและควบคุมต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย
1. เทคนิควิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) V E ต้องดูความสัมพันธ์ของ 3 ตัวแปร คุณค่า หน้าที่การทำงาน ลดต้นทุน (V / F/ C)
2. เทคนิคการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ดำเนินการตามแนวคิดของ มูส มี 6 ขั้นตอน
3. ขั้นตอนการเลือกโครงการหรือเป้าหมาย
4. การรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์หน้าที่การทำงาน
6. สร้างสรรค์ความคิดเพื่อปรับปรุง
7. ประเมินผลความคิด ประเมินถึงความเป็นไปได้
8. ขั้นตอนการพิสูจน์หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคุณภาพ ประกอบด้วยทุกฝ่าย เช่น /ฝ่ายการตลาดหากลยุทธ์ในการครองตลาด / ฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด / ฝ่ายจัดซื้อต้องจัดหาวัตถุดิบให้มีมาตรฐานของวัตถุดิบ / ฝ่ายผลิตแรงงานมีการพัฒนาอบรมอยู่หรือไม่ / ฝ่ายควบคุมคุณภาพต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าเป็นอย่างดีก่อนที่จะถึงมือลูกค้า / ฝ่ายจัดเก็บและส่งสินค้าเมื่อมีการจัดเก็บคุณภาพของสินค้ายังคงมีคุณภาพดีเช่นเดิม
9. เทคนิคการวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning & Control)
10. เทคนิคการบริหารวัสดุคงคลัง (Inventory Management) มีการดำเนินการบริหารวัสดุคงคลัง การผลิตดีมีคุณภาพ การขายต้องดีด้วย ไม่ใช่เพียงแค่เน้นลูกค้าอย่างเดียว 
11. เทคนิคการศึกษางาน (Work Study) หลักการที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ Work Smart ไม่ต้องเสียกำลังมากด้วยวิธีการง่ายๆ การศึกษางานจะช่วยได้ โดยจะพิจารณาจากวิธีการทำงานของพนักงานแต่ละคน ว่าทำงานดีขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง แต่ผลงานมากขึ้น เทคนิคศึกษางานนี้ช่วยให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี เกิดความสำเร็จขึ้นมา มีทัศนคติที่ดี แก้ไขได้
12. เทคนิคการบริหารงานบำรุงรักษา (Maintainance Management) โรงงานหลายแห่งมีปัญหาเครื่องจักรเสียบ่อย เรามีวิธีการบำรุงรักษาแบบไหน มีการวางแผนล่วงหน้าหรือไม่ มีวิธีการป้องกันหรือไม่ มีการซ่อมเปลี่ยนอะไหล่เครื่องจักรเป็นไปตามคู่มือหรือไม่ คู่มือสำคัญให้เป็นไปตามการซ่อมบำรุง คนที่รับผิดชอบต้องดูแล Fix Time Maintainance เป็นเรื่องสำคัญ Condition Base Maintainance สำคัญเช่นกัน ซึ่งจะไม่ทำให้แผนการผลิตเสียหาย
13. เทคนิคการประหยัดพลังงาน (Energy Saving) เป็นเทคนิคที่สำคัญยิ่ง ในการลดต้นทุน เช่น อาจจะมีการว่าจ้างที่ปรึกษาการประหยัดพลังงาน มาเขียนแผนและมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ บางครั้งอาจจะไม่ต้องลงทุน แต่ใช้จิตสำนึกแทน มีโครงการเพื่อการลดต้นทุนด้วยการประหยัดพลังงานของ SMEs ที่มีงบประมาณอุดหนุนอยู่

วัตถุดิบ (material)

วัตถุดิบ (material) เป็นวัสดุหลักที่นำถูกนำมาใช้ในการผลิตโดยตรง ส่วนมากจะประกอบอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ ดังนั้นต้นทุนการผลิตจึงประกอบด้วยวัตถุดิบที่ใช้ เช่น โรงงานผลิตขวดพลาสติก วัสดุดิบหลักที่ใช้ก็คือพลาสติก, โรงงานผลิตยางรถยนต์ วัตถุดิบที่ใช้คือยางพารา, โรงงานผลิตเสาคอนกรีตสำเร็จรูป วัตถุดิบหลักคือ ปูนซิเมนต์และเหล็ก เป็นต้น. วัตถุดิบที่ยกตัวอย่างมาเป็นวัตถุดิบหลักหรือที่เราเรียกว่า “วัตถุดิบทางตรง” เป็นวัสดุที่แปรผันกับการผลิตโดยตรงตามอัตราส่วนในสูตรการผลิต สามารถคำนวณได้ตามชิ้นงานที่ผลิต ซึ่งนับว่าเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญ อัตราส่วนของต้นทุนการผลิตต่อราคาขายนั้นจะขึ้นอยู่กับกิจการและลักษณะของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ตามประสบการณ์ที่ผมเจอมา ในอุตสาหกรรมประเภทการผลิตเครื่องมือ, การแปรรูปชิ้นส่วน (machining) ต้นทุนการผลิตของวัตถุดิบหลักอยู่ที่ประมาณ 30 – 50%
นอกจากนี้วัตถุดิบยังประกอบด้วย “วัตถุดิบทางอ้อม” หรือพวกค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอื่นๆ ที่ไม่ได้แปรผันกับการผลิตโดยตรง เช่น ถุงมือ, ผ้าเช็ดมือ, กาว, ตะปู,ลวดเชื่อม โดยต้นทุนการผลิตส่วนนี้จะถูกนำไปจัดไว้ในค่าโสหุ้ย

การวิจัยตลาด (Market Research)

การทำวิจัยตลาดนั้นเราสามารถแบ่งการวิจัยออกเป็นหลายขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดปัญหา (Defining Problems) ขั้นตอนแรกเป็นการระบุปัญหาว่าคืออะไรเสียก่อน ในบางครั้งผู้บริหารมีความรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่ผิดพลาดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ แต่ก็ไม่รู้ว่าความผิดพลาดนั้นคืออะไร ซึ่งจะต้องหาทางแก้ปัญหาโดยบริษัทจะต้องมีการตั้งปัญหาให้คำจำกัดความ โดยอาจจะจัดแบ่งปัญหาตามลักษณะงาน ตามโครงสร้างของบริษัท หรือตามลักษณะของส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) เมื่อสามารถแบ่งปัญหาตามส่วนต่างๆ ได้แล้ว ก็ย่อมจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และตรงจุด
2. การเลือกแหล่งข้อมูล (Selecting Information Sources) เมื่อพบลักษณะของปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การพิจารณาถึงแหล่งข้อมูลที่จะให้คำตอบในการแก้ปัญหานั้น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน แหล่ง คือ
2.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Data Sources) คือแหล่งข้อมูลเบื้องต้น เช่น จากลูกค้า หรือจากผู้ใช้บริการของบริษัทโดยตรง ในการเก็บข้อมูลอาจทำได้โดย วิธีการสังเกต(Observe) ค้นคว้า (Survey) การทดลอง (Experiment) สอบถาม สัมภาษณ์ เช่น การสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติของลูกค้า
2.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Data Sources) คือการที่นำเอาข้อมูลที่มีผู้ค้นคว้าไว้แล้วนำมาใช้ อาจจะเป็นข้อมูลจาก รายงาน หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ หรือนำเอาข้อมูลปฐมภูมิมาใช้ วิธีนี้ทุ่นเวลา และค่าใช้จ่าย แต่ข้อมูลที่ได้จะไม่ค่อยถูกต้องตามความต้องการ
3. การเตรียมการรวบรวมข้อมูลและวัสดุที่จะใช้กับข้อมูล (Research Materials) ถ้าหากมีความต้องการข้อมูลแบบปฐมภูมิ ขั้นแรกต้องออกแบบสอบถามเสียก่อน แล้วทำการทดสอบข้อมูล จัดหาพนักงานเก็บข้อมูล อบรมการเก็บข้อมูล และเทคนิคต่างๆ เพื่อขจัดความคลาดเคลื่อนให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อความถูกต้องของข้อมูลที่จะได้มา
4. การกำหนดตัวอย่าง (Designing Samples) คือ การเลือกสุ่มตัวอย่างวิธีใดจึงจะเหมาะสมที่สุด

Holiday