2) การเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Select Target Audiences) ขั้นตอนนี้จะเป็นการแบ่งส่วนตลาดและทาการเลือกส่วนตลาดที่มีศักยภาพ
3) การกาหนดวัตถุประสงค์ (Set Objectives) วัตถุประสงค์จะเป็นสิ่งที่นักการตลาดเพื่อสังคมต้องการให้กลุ่มเป้าหมายตอบสนองตามที่ตั้งใจไว้ ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุประสงค์ในเชิงความรู้ ทัศนคติหรือพฤติกรรมก็ได้
4) ทาการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย (Analyze Target Audiences) เพื่อให้เกิดความเข้าใจก่อนการดาเนินงานว่ากลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมอย่างไร กับประเด็นปัญหาที่ต้องการจะรณรงค์เพื่อจะนาไปสู่การออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสังคมในขั้นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5) การกาหนดกลยุทธ์ (Determine Strategies) ในขั้นนี้ นักการตลาดเพื่อสังคมจะทาการกาหนดกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาดหรือ “4Ps” ได้แก่
(1) ผลิตภัณฑ์ ซึ่งในการตลาดเพื่อสังคมจะหมายถึงแนวคิดทางการตลาดเพื่อสังคมที่ต้องการจะทาให้กลุ่มเป้าหมายปฏิบัติตาม
(2) ราคา ซึ่งในที่นี้จะหมายความถึงต้นทุนในด้านเวลา พลังงาน หรือต้นทุนทางจิตใจมากกว่าจานวนเงิน โดยต้นทุนนี้จะเป็นต้นทุนของการทาให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่พึงปรารถนาซึ่งควรจะต่ากว่าประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ
(3) การจัดจาหน่าย ซึ่งหมายถึงการทาให้ผลิตภัณฑ์หรือแนวคิดเชิงสังคมที่ต้องการรณรงค์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุดโดยสะดวก ซึ่งโดยทั่วไปมักจะคานึงถึงในเรื่องของสถานที่และระยะเวลาในการดาเนินงานตามแผนการตลาดเพื่อสังคม
(4) การส่งเสริมการตลาด อันหมายถึงการออกแบบสารและการเลือกสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารแนวความคิดทางสังคมที่ต้องการรณรงค์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ทราบเพื่อให้เกิดการตอบสนองไปในแนวทางที่พึงปรารถนา
6) การกาหนดวิธีการประเมินผล (Develop Evaluation and Monitoring Strategy) ในขั้นนี้จะเป็นการกาหนดว่าจะประเมินผลอะไร (What) และจะประเมินอย่างไร (How) ซึ่งคาถามแรกจะเป็นการประเมินตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ส่วนจะประเมินอย่างไรนั้น นักการตลาดเพื่อสังคมอาจเลือกใช้วิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Technique) หรือวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Technique) ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus Groups) การสังเกต (Observation) หรือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) เป็นต้น